แนวทางการประกอบอาชีพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ประกอบอาชีพที่ใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ในการสื่อสาร

ดังอาชีพต่อไปนี้

1. ผู้ผลิตชิ้นงาน ได้แก่ ผู้ผลิตสื่อเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content Creator) ผู้สร้างสรรค์ข้อความโฆษณา (Creative Copy Writer) ผู้เขียนบท (Script Writer) และนักเขียน (Writer)

2. ผู้บริการ หรือ ผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ ผู้สร้างสรรค์ผลงานผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ( ยูทูปเบอร์ (Youtuber) ติ๊กต๊อกเกอร์ (TikToker) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริการลูกค้า (Customer service) นักแปล (Translator) ล่าม (Interpreter) เลขานุการ (Secretary)

3. ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้ให้คำแนะนำ ได้แก่ ที่ปรึกษาองค์การฝ่ายจัดฝึกอบรม ที่ปรึกษาบริหารสื่อสัมพันธ์ ที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร ผู้เชี่ยวชาญงานสื่อสารองค์กร ผู้ช่วยส่วนตัว (PA: Personal Assistant) ติวเตอร์ (Tutor) วิทยากรด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา

     4. ผู้บริหารจัดการ หรือ ผู้ที่ใช้ภาษาในเชิงระบบ ได้แก่ ผู้ดูแลระบบและตอบคำถาม หรือแอดมิน (Admin) ผู้บริหารจัดการด้านการสื่อสาร ผู้ออกแบบข้อความ (Massage Design)

5. อาชีพอื่น ๆ ที่ต้องใช้ทักษะ และความรู้ด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 

  • รวมตลอด 4 ปีการศึกษา ประมาณ 191,800 บาท